สทนช.เร่งเดินหน้าตามมาตรการรับมือภัยแล้งแล้ว 33 จังหวัด เพื่อช่วยเหลือประชาชน

วันที่ 20 เมษายน 2567 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้รับรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ จากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช.

• ขณะนี้ มีปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ 46,027 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 56% น้อยกว่า ปี 2566 จำนวน 2,232 ล้านลูกบาศก์เมตร 

• มีปริมาณน้ำใช้การ 21,846 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 38% ส่งผลให้ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย 

จากการประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำ พบว่า ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 4 แห่ง คือ ภาคเหนือ: สิริกิติ์, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จุฬาภรณ์, ภาคตะวันออก: คลองสียัด และภาคกลาง: กระเสียว 

ขับเคลื่อนมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567

สทนช.ยังได้ขับเคลื่อนมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 - 12 เมษายน 2567 มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) จำนวน 4 จังหวัด 8 อำเภอ 23 ตำบล เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนน้ำด้านการเกษตร ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้บูรณาการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ที่ประสบปัญหาทั้งหมดแล้ว คือ

• ภาคเหนือ จ.นครสวรรค์ 1 อำเภอ 1 ตำบล 

• ภาคตะวันออก จ.ชลบุรี 3 อำเภอ 3 ตำบล

• ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ 4 อำเภอ 19 ตำบล 

บูรณาการร่วม ลงพื้นที่แก้ปัญหา 33 จังหวัด

สทนช. ยังได้ติดตามพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจะขาดแคลนน้ำ ทั้งด้านอุปโภค บริโภค การเกษตร และคุณภาพน้ำ โดยเฉพาะในหลายพื้นที่นอกเขตชลประทานที่มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค 

• ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน 2567 ได้บูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ไปแก้ปัญหาแล้ว จำนวน 33 จังหวัด 65 อำเภอ 117 ตำบล

• รวมถึงยังได้แก้ปัญหาภัยแล้งจากสื่อออนไลน์ ที่พบว่า จ.กระบี่ เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ไม่มีฝนในพื้นที่ต้นน้ำ ทำให้น้ำในคลองกระบี่ใหญ่ลดลง จนไม่เพียงพอต่อการสูบผลิตได้เหมือนเดิม 

• ปัจจุบันได้แก้ปัญหาใช้น้ำจากแหล่งน้ำสำรองสระทับปริก มาเสริมแผนการจัดการแล้ว 

• เตรียมพร้อมรับมือภายใต้มาตรการรองรับฤดูแล้ง สทนช.เดินหน้าอย่างเต็มที่ โดยได้มีการลงพื้นที่เพิ่มเติม จังหวัดอุดรธานี (18 เมษายน) จังหวัดบึงกาฬ (19 เมษายน) เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างเร่งด่วน มอบหมายให้ อปท. ประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหา ทั้งการขุดลอกแหล่งน้ำที่ตื้นเขิน การสูบน้ำระยะไกลเพื่อเติมน้ำต้นทุนให้แหล่งน้ำ ฯลฯ 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar