4 กลุ่มเสี่ยง อาการรุนแรงจากไข้เลือดออก

“ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้สูงอายุ และเด็ก อายุต่ำกว่า 5 ปี ”

ป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด หากมีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก

ถ้ามีอาการไข้ ควรรับประทานยาพาราเซตามอล

❌❌ห้าม❌❌ ใช้ยาลดไข้ กลุ่ม NSAIDs เช่น แอสไพริน และไอบูโปรเฟน ไดโคลฟีแนค

ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

สธ.ห่วงปีนี้ “ไข้เลือดออก” ระบาด! ขณะที่ภูมิต้านทานคนไทยน้อยลง

ปลัดสธ.ห่วงปีนี้ คนไทยภูมิต้านทาน “ไข้เลือดออก” ตก! 4 เดือนนี้ส่อระบาดหนัก มีผู้ป่วยรุนแรง-เสียชีวิตเพิ่มขึ้น เผยป่วยแล้ว 1.8 หมื่นคน แจงวัคซีนไข้เลือดออกไม่ค่อยได้ผล เหตุยังไม่ครอบคลุม 4 สายพันธุ์ มอบกรมควบคุมโรคพิจารณาวัคซีนรุ่นใหม่จากญี่ปุ่น

นพ.โอภาสกล่าวว่า ที่น่าห่วงคือ ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสรักษาไข้เลือดออกจากเชื้อไวรัสเดงกีโดยตรง การป้องกันจึงสำคัญ ทำอย่างไรให้ไม่ถูกยุงกัด ซึ่งมีนวัตกรรมหลายอย่าง เช่น ยาทา ยาป้องกันไล่ยุง เราต้องการนวัตกรรมใหม่ๆ อีกเยอะ อย่างเนคเทคนำดิจิทัลมาเชื่อมโยงข้อมูลสำรวจลูกน้ำยุงลาย ที่มี อสม.ช่วยสำรวจ จะบอกได้ว่าจุดไหนที่มีไข้เลือดออก จะได้ช่วยมองเป้าและชี้จุดในการรักษาและควบคุมต่อไป อีกส่วนคือ เดิมเข้าใจว่าไข้เลือดออกเป็นกับเด็กเล็ก เด็กโต แต่ระยะหลังพบว่าปัญหาการป่วยและเสียชีวิตมากที่สุดคือผู้ใหญ่ ซึ่งอาการไม่เหมือนรูปแบบที่เคยรู้จักมา บางครั้งมีอาการไม่กี่วันก็ทำให้อาการหนักรุนแรงหรืออาการแปลกๆ ได้ จึงต้องย้ำเตือนว่าระยะแรกของไข้เลือดออก การวินิจฉัยไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีอาการคล้ายกับโรคอื่น หากไม่ติดตามอาการหรือสังเกตจะทำให้การรักษาล่าช้า เกิดความรุนแรงและเสียชีวิตในที่สุด มาตรการวินิจฉัยให้เร็วที่สุดและสังเกตตัวเองจึงมีความสำคัญ ขณะที่แต่ละบ้านควรสำรวจลูกน้ำยุงลายและช่วยกันกำจัด รวมไปถึงชุมชนเพราะยุงลายบ้านหนึ่งก็ข้ามไปอีกบ้านทำให้ป่วยหรือระบาดในชุมชนได้

ข้อมูลจาก : ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

#ไข้เลือดออก

#Dengue

#การบริหารจัดการระบบสาธารณสุขและสถานการณ์โรคอุบัติใหม่


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar